messager
info สถานที่ท่องเที่ยว
เมืองฟ้าแดดสูงยาง
หรือเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา เนื่องจากมีผังเมืองรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ มีซากอิฐปนดิน คูเมืองสองชั้นมีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง ชาวนามักขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร 130 แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ 1,000-2,000 ปี มีอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดี ก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ 7,000 ปี ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ 5,000-6,000 ปี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุกๆ แห่งในโลกนี้ เมืองฟ้าแดดสูงยาง จึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1300-1600 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทาง 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) แยกขวามือเข้าทางโรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย ประมาณ 13 กิโลเมตร แยกขวามือเข้าไปตามทางลูกรังอีก 6 กิโลเมตร นับเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด
รูปภาพ

พระธาตุยาคู
เดิมเรียกว่า “ธาตุใหญ่” เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปีในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็น ของหมู่บ้าน
วัดโพธิ์ชัยเสมาราม หรือวัดบ้านก้อม
อยู่ในอาณาเขตเมืองฟ้าแดดสูงยางไม่ไกลจากพระธาตุยาคู เป็นวัดโบราณ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ ใบเสมาหินสมัยทวาราวดี ที่ปักอยู่เป็นแนวกำแพงและที่เก็บรวบรวมไว้ในวัดเป็นบางส่วน ที่ใบเสมาจำหลักเป็นภาพต่างๆ ส่วนมากสลักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนา
รูปภาพ

สวนสาธารณ หนองเรือ
พื้นที่ตั้ง พื้นที่ขนาด 368 ไร่ (พื้นดิน 138 / พื้นน้ำ 230 ไร่) มีลำน้ำปาวไหลผ่านทางทิศเหนือ เป็นแหล่งน้ำ และป่าสาธารณะที่หล่อเลี้ยงชีวิตและพื้นที่เกษตรของชาวกมลาไสย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญ ในอดีต หนองเรือเป็นจุดจอดเรือกระแชง บรรดาพ่อค้าข้าวแวะพักค้างแรม ก่อนมุ่งหน้าล่องเรือตามลำน้ำปาวสู่แม่น้ำชีที่ท่าสะแบง (จังหวัดร้อยเอ็ด) และต่อไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี หนองเรือประกอบด้วย “แหล่งน้ำ” และ “ป่าโคก”ซึ่งหนองเรือเป็นแหล่งทรัพยากร เป็นเสมือน “Super Market” เป็นแหล่งกำเนิด ที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารตามฤดูกาล พืชสมุนไพรรักษาโรค พันธุ์ไม้ที่ใช้สร้างที่อยู่อาศัย และเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม หนองเรือเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร ซึ่งช่วยให้ชาวกมลาไสยได้ดำรงวิถีเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ อันเป็นวัฒนธรรม อาชีพ และฐานเศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นมาจนปัจจุบัน การพัฒนาพื้นที่หนองเรือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นพื้นที่ เป้าหมาย (LANDMARKLANDMARK) ด้านการท่องเที่ยวของอำเภอกมลาไสย ตลอดจนการพัฒนาคุณชีวิตเศรษฐกิจของชุมชน