messager
local_cafe คำขวัญ/สัญญาลักษณ์
คำขวัญ







ตราสัญลักษณ์



ความหมาย ตราสัญลักษณ์

info_outline วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์ (Vission)
“อบต.กมลาไสยร่วมใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประสานสร้างคุณภาพชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงสร้างชื่อเสียงด้วยเทคโนโลยีอินทรีย์ชีวภาพซาบซึ้งบุญคุณแผ่นดินเป็นท้องถิ่นแห่งความปลอดภัยก้าวไกลการศึกษาศาสนาวัฒนธรรมนำพาสู่แหล่งท่องเที่ยวเชี่ยวชาญด้านสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมพร้อมบริการรวดเร็วประทับใจ รักษาไว้ซึ่งธรรมมาภิบาลประสานให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน”

พันธกิจ (Mission)
1. ดำเนินตามนโยบายการพัฒนาองค์การบริหารงานส่วนตำบลกมลาไสย ตามที่ข้าพเจ้าได้แสดงเจตนารมณ์และกำหนดนโยบายให้ไว้กับพี่น้องประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา จะพัฒนาให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้านคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเมืองการบริหารและด้านสังคม โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน 2. ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและของจังหวัดกาฬสินธุ์โดยการพัฒนาแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย ให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ จังหวัดกาฬสินธุ์และกรอบยุทธศาสตร์ของการพัฒนาขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด 3. นำพระราชดำรัสพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน 4. บริหารงานโดยใช้หลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา



ประกาศจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย

ข้อมูลทั่วไป (ปรับปรุงล่าสุด 16 กันยายน 2552 เวลา 14,00 น.)
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสยเป็นเขตการปกครองของอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอกมลาไสย ห่างจากอำเภอกมลาไสยประมาณ 4 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสยมีเขตติดต่อพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลใกล้เคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลาเลิง อำเภอฆ้องชัย เทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธัญญา, เทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย มีพื้นที่โดยประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,625 ไร่ สภาพภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการทำการเกษตรพื้นที่ทำการเกษตรเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทานเขื่อนลำปาว และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากลำน้ำปาว องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกเป็นบางช่วง ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมาก จำนวนหมู่บ้าน 13 หมู่บ้าน ดังนี้ จำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสยเต็มพื้นที่ มี 10 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 2,3,6,8,9,10,13,16,17 และหมู่ที่ 18 จำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสยบางส่วน มี 3 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 5,12 และหมู่ที่ 14 รายชื่อหมู่บ้านภายในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลกมลาไสย มี 13 หมู่บ้าน มี นางสังเวียน ไสยเรือง เป็นกำนันประจำตำบล ดังต่อไปนี้ 1. หมู่ที่ 2 บ้านข้าวหลาม 2. หมู่ที่ 3 บ้านสงยาง 3. หมู่ที่ 5 บ้านสระบัว (มีพื้นที่บางส่วน และ ไม่มีประชากรอาศัยอยู่) 4. หมู่ที่ 6 บ้านดอนยาง 5. หมู่ที่ 8 บ้านสะอาดชัยศรี 6. หมู่ที่ 9 บ้านดอนยูง 7. หมู่ที่ 10 บ้านโปโล 8. หมู่ที่ 12 บ้านปากน้ำ (มีพื้นที่บางส่วน และ ไม่มีประชากรอาศัยอยู่) 9. หมู่ที่ 13 บ้านโปโล 10. หมู่ที่ 14 บ้านฟากปาว (พื้นที่บางส่วน และ มีประชากรอาศัยอยู่) 11. หมู่ที่ 16 บ้านข้าวหลาม 12. หมู่ที่ 17 บ้านดอนยูง 13. หมู่ที่ 18 บ้านน้อยพัฒนา

info ผลิตภัณฑ์ OTOP
กลุ่มทอผ้าแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าและตะกร้าจากเชือก
ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 57 หมู่ 10 บ้านโปโล ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130 สนใจติดต่อ คุณบุญล้อม ศุภชารี 089-937-8873 (นักพัฒนาชุมชน 065-093-9697)

รูปภาพ




กลุ่มจักสานตะกร้าไม้ไผ่
ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 9 หมู่ 16 บ้านข้าวหลาม ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130 สนใจติดต่อ คุณตาณรงค์ โพนยงค์ (นักพัฒนาชุมชน 065-093-9697)

รูปภาพ







กลุ่มธุงอีสาน
ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 6 หมู่ 16 บ้านข้าวหลาม ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130 สนใจติดต่อ คุณกฤษณา นาเทวา 083-660-3980 (นักพัฒนาชุมชน 065-093-9697)

รูปภาพ



กลุ่มน้ำพริกปลาดุก
บ้านโปโล หมู่ 10,13 ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130 สนใจติดต่อ คุณจีรภา พิมล 061-284-4134 (นักพัฒนาชุมชน 065-093-9697)

รูปภาพ



info สถานที่ท่องเที่ยว
เมืองฟ้าแดดสูงยาง
หรือเรียกเพี้ยนไปเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกว่า เมืองเสมา เนื่องจากมีผังเมืองรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณ มีซากอิฐปนดิน คูเมืองสองชั้นมีลักษณะเป็นท้องน้ำที่พอมองเห็น คือพระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดีแต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง ชาวนามักขุดพบใบเสมาหินทรายมีลวดลายบ้าง ไม่มีบ้าง ที่ขึ้นทะเบียนไว้ทางกรมศิลปากร 130 แผ่น พระพิมพ์ดินเผามีลักษณะเป็นอิทธิพลของสกุลช่างคุปตะรุ่นหลัง อายุประมาณ 1,000-2,000 ปี มีอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบกล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดี ก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ 7,000 ปี ที่น่าสนใจคือกล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ 5,000-6,000 ปี ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มมาก่อนทุกๆ แห่งในโลกนี้ เมืองฟ้าแดดสูงยาง จึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1300-1600 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทาง 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) แยกขวามือเข้าทางโรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย ประมาณ 13 กิโลเมตร แยกขวามือเข้าไปตามทางลูกรังอีก 6 กิโลเมตร นับเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด

รูปภาพ


พระธาตุยาคู
เดิมเรียกว่า “ธาตุใหญ่” เป็นพระสถูปสมัยทวาราวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15) ตั้งอยู่กลางทุ่งนาทิศเหนือบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบทวาราวดี ทำด้วยอิฐดิน ฐานเป็นรูป 8 เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ขนาดฐานกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างซ้อนกันเป็นลักษณะแบบจตุรมุขสูงจากฐานถึงยอด 8 เมตร เชื่อกันว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการบูรณะ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานเทศกาลเป็นประจำทุกปีในระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็น ของหมู่บ้าน

วัดโพธิ์ชัยเสมาราม หรือวัดบ้านก้อม
อยู่ในอาณาเขตเมืองฟ้าแดดสูงยางไม่ไกลจากพระธาตุยาคู เป็นวัดโบราณ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ ใบเสมาหินสมัยทวาราวดี ที่ปักอยู่เป็นแนวกำแพงและที่เก็บรวบรวมไว้ในวัดเป็นบางส่วน ที่ใบเสมาจำหลักเป็นภาพต่างๆ ส่วนมากสลักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนา

รูปภาพ


สวนสาธารณ หนองเรือ
พื้นที่ตั้ง พื้นที่ขนาด 368 ไร่ (พื้นดิน 138 / พื้นน้ำ 230 ไร่) มีลำน้ำปาวไหลผ่านทางทิศเหนือ เป็นแหล่งน้ำ และป่าสาธารณะที่หล่อเลี้ยงชีวิตและพื้นที่เกษตรของชาวกมลาไสย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญ ในอดีต หนองเรือเป็นจุดจอดเรือกระแชง บรรดาพ่อค้าข้าวแวะพักค้างแรม ก่อนมุ่งหน้าล่องเรือตามลำน้ำปาวสู่แม่น้ำชีที่ท่าสะแบง (จังหวัดร้อยเอ็ด) และต่อไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี หนองเรือประกอบด้วย “แหล่งน้ำ” และ “ป่าโคก”ซึ่งหนองเรือเป็นแหล่งทรัพยากร เป็นเสมือน “Super Market” เป็นแหล่งกำเนิด ที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารตามฤดูกาล พืชสมุนไพรรักษาโรค พันธุ์ไม้ที่ใช้สร้างที่อยู่อาศัย และเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม หนองเรือเป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร ซึ่งช่วยให้ชาวกมลาไสยได้ดำรงวิถีเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ อันเป็นวัฒนธรรม อาชีพ และฐานเศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นมาจนปัจจุบัน การพัฒนาพื้นที่หนองเรือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นพื้นที่ เป้าหมาย (LANDMARKLANDMARK) ด้านการท่องเที่ยวของอำเภอกมลาไสย ตลอดจนการพัฒนาคุณชีวิตเศรษฐกิจของชุมชน

info วัฒนธรรมท้องถิ่น
ประเพณีลอยกระทง





ร่วมถวายเทียนพรรษา 10 วัดในเขตตำบลกมลาไสย





พิธีตักบาตรวันวิสาขปุณณมี